ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ของ กสศ.ในปีการศึกษา 2/2563 เพิ่มขึ้นกว่า18% จากปีการศึกษา 1/2563 ซึ่งในปีการศึกษา 2/2563 มีนักเรียนยากจนพิเศษที่คัดกรองใหม่เข้ามา จำนวน 195,558 คน โดยยอดรวมตั้งแต่เริ่มเข้าไปช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษหรือนักเรียนทุนเสมอภาค เมื่อปีการศึกษา 2/2561 ครบ 3 ปีการศึกษา กสศ.ให้การช่วยเหลือเด็กยากจนพิเศษแล้ว1,173,752 คน
ข้อมูลล่าสุด พบว่ารายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ ภาคเรียนการศึกษา 2/2563 อยู่ที่ 1,021 บาท/เดือน หรือประมาณ 34 บาท/วัน ลดลงจากภาคการศึกษา 1/2563 ซึ่งอยู่ที่1,077 บาท/เดือน แหล่งที่มาของรายได้ยังมาจากเงินเดือนและค่าจ้าง สวัสดิการจากรัฐ/เอกชน และการเกษตร ขณะที่สมาชิกครัวเรือนอายุ 15-65 ปี ว่างงานที่ไม่ใช่นักเรียนนักศึกษาอยู่ที่ 31.8% และเป็นผู้ปกครองที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 32%
- อนุทินไม่กล้ารับปากสงกรานต์นี้ได้สาดน้ำ?โยนศบค.ชุดใหญ่เคาะ
- “บิ๊กตู่”ไม่กลัวช็อก!!!ฉีดวัคซีนโควิดโชว์พรุ่งนี้ยิงสดจากทำเนียบ!!!
น.ส.ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมและทุนการศึกษา กล่าวว่า จากการสำรวจ ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในกลุ่มพ่อแม่เด็กนักเรียนยากจนพิเศษรายได้ลดลง 56.7% กลุ่มถูกเลิกจ้าง ตกงาน 9.8% ถูกพักงานชั่วคราว 7.5 % ซึ่งครัวเรือนยากจนพิเศษซึ่งมีรายได้ประมาณ 34 บาทต่อวัน โครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เชื่อมโยงครัวเรือนนักเรียนยากจนพิเศษ 48 โครงการจำแนกเป็นการReskill มารดา 42% ยาย 19% บิดา 11% ย่า8% ตา 5%